สภาพทางเศรษฐกิจ
1. การเกษตร
ในเขตเทศบาลตำบลสูงเนิน มีพื้นที่ทำการเกษตรเพียงเล็กน้อยตามแนวที่เป็นเขตติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสูงเนิน มะเกลือเก่า
2. การประมง
ไม่มีพื้นที่ประมง
3. การปศุสัตว์
ไม่มีพื้นที่ปศุสัตว์
4. การบริการ
ลักษณะการประกอบกิจการบริการในเขตเทศบาล ได้แก่
1. โรงแรม (ขนาดไม่เกิน 60 ห้องพัก) มี 5 แห่ง
2. ตลาด มี 2 แห่ง
3. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง มี 6 แห่ง
5. การท่องเที่ยว
ในเขตเทศบาลตำบลสูงเนิน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่เส้นทางที่ใช้สัญจรไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของอำเภอสูงเนินต้องผ่านเทศบาลตำบลสูงเนิน ดังนี้
- ปราสาทโนนกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช ห่างจากแยกวัดญาณโศภิตวนาราม 3 กิโลเมตร เป็นปราสาทในเมืองโคราฆปุระ ในอดีตสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่15 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับการสร้างปราสาทเมืองแขก ที่ตั้งอยู่ใกล้กันพิจารณาจากสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบบริเวณนี้ ซึ่งมีลักษณะแบบศิลปะเกาะแกร์ที่พบในกัมพูชาซึ่งอยู่ในราว พ.ศ.1440-1490 เป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมร ที่ตั้งอยู่ในเมืองโคราฆปุระ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่ได้รับอิทธิพลของขอมโบราณที่แผ่อิทธิพลเข้ามาถึง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยอิฐและหินทรายควบคู่กันประกอบด้วยปรางค์หลังเดี่ยวบนฐานสูง ด้านหน้ามีวิหารหันเข้าหาปราสาทประธานอยู่ 2 หลัง มีบรรณาลัยสององค์ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูเข้าออกทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อด้วยอิฐปนหินทรายและที่ลานระหว่างวิหารทั้งสองนั้นพบโคนหินหมอบในอาการเคารพปราสาท ประธานอันเป็นที่สถิตของพระศิวะมหาเทพ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูในราวพุทธศตวรรษที่ 16 บริเวณนี้สภาพปัจจุบันเหลือเพียงซากฐานอาคาร เมื่อ พ.ศ.2502 กรมศิลปากรโดย นายมานิต วัลลิโภดม ได้ทำการขุดแต่งพบวัตถุโบราณหลายชิ้น เช่น ปรางค์จำลอง เทวรูปทวารบาล เป็นต้น ปัจจุบันวัตถุโบราณเหล่านี้ได้นำไปจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
- ปราสาทเมืองแขก ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช อยู่เลยปราสาทโนนกู่ไปประมาณ 600 เมตร เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโคราช เป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมร ก่อด้วยอิฐปนหินทราย แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ด้านหน้าล้อมรอบ ด้วยกำแพงแก้วและคูน้ำคันดินอีกชั้น หนึ่งเกือบรอบ จากแนวคูน้ำคันดินออกไปนอกสุด มีซากอาคารสองหลังสร้างหันหน้าเข้าหากัน อาคารทั้งสองหลังนี้มีแนวกำแพง ล้อมรอบ โบราณสถานประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันเหลือเพียงมณฑป มีซุ้มประตูทิศเหนือ เข้า-ออก เมื่อคราว ปีพ.ศ.2533 ที่กรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะ ขุดแต่งปราสาทเมืองแขกได้พบทับหลังสลักลายก้านต่อดอกซึ่งเทียบได้กับลวดลายในศิลปะเขมรโบราณสมัยบันทายศรี ราวปี พ.ศ.1510-1550 นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประตูซุ้มชั้นนอก ระบุปี พ.ศ.1514 และ พ.ศ.1517 ที่สำคัญคือ ทับหลังรูปเทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล มีสถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ในศิลปขอม ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับปราสาทโนนกู่ นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบทั้งหมดว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถาน ในคติฮินดูหรือพรามณ์ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีกรรมถวายแด่พระศิวะ
- ปราสาทเมืองเก่า (อโรคยาศาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และบารายหรือบันนาราย หรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์) เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจำนวน 102 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.1724-1758 ทั่วราชอาณาจักรขอม สร้างจากศิลาแลงและหินทราย มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยปรางค์ประธาน วิหาร กำแพงแก้วซุ้มประตู สระน้ำ ปัจจุบันเหลือเพียงซากกองหินปราสาทเมืองเก่า ตั้งอยู่ในวัดปราสาทเมืองเก่า บ้านเมืองเก่า หมู่ 1 ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน ใช้เส้นทางเดียวกับปราสาทโนนกู่ โดยอยู่ห่างจากปราสาทเมืองแขกประมาณ 1 กิโลเมตร
- วัดธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่หลาย ๆ ก้อนประกอบกันขึ้นตามแนวทิศเหนือทิศใต้ มีความยาว 30 เมตร สูง 2.80 เมตร อายุราว พ.ศ. 1200 พระเศียรอยู่ทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมประกอบด้วยหินทรายสี่แผ่นวางซ้อนกัน วัดธรรมจักรเสมาราม พระนอนหินทราย อายุกว่า 1300 ปี แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทราวดีมีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อด้วยหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวประมาณ 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1200 ที่วัดแห่งนี้ยังมีธรรมจักรเก่าแก่ ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักร ที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์ สลักด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่หลาย ๆ ก้อน ประกอบกัน สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี พ.ศ. 1200 ปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่ง และบูรณะขึ้น เนื่องจากเกิดการแตกหัก และผุพัง ต่อมา ปี พ.ศ. 2538 ได้มีการสร้างอาคารและหลังคาคลุมองค์พระนอน เพื่อกันแดด กันฝน องค์พระนอน มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดธรรมจักรเสมาราม ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ในอดีตเรียกบริเวณเมืองดังกล่าวว่า เมืองโคราฆปุระ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองโคราช อันเป็นต้นกำเนิดเมืองโคราชหรือนครราชสีมาในปัจจุบัน เพราะที่นี่มีการพบธรรมจักรโบราณที่เหมือนกับ เสมาธรรมจักรที่นครปฐมด้วย และไม่ไกลนักยังมี โบราณสถานที่เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ คือ ปราสาทหินเก่าแก่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แก่ ปราสาทหินเมืองแขก ปราสาทหินโนนกู่ เป็นที่มาหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกขานเมืองโคราช หรือนครราชสีมาในปัจจุบัน พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนหินทราย พระนอนหินทราย เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จปรินิพพาน มีพุทธลักษณะแบบทวาราวดี พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตามขนบของศาสนสถานในศาสนาพุทธ ในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายแดงสี่ก้อนวางประกอบซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระพักตร์ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกว้างทรงแย้มพระสรวลที่มุมพระโอษฐ์ชี้ขึ้น ส่วนพระศอเป็นหินทรายทรงกลมหนึ่งก้อน หนาประมาณ 35 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตร และพระวรกายประกอบด้วยหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อน พระนอนหินทรายเป็นพุทธลักษณะที่เป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ เป็นพระนอนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีอายุราว พ.ศ. 1200 ตั้งอยู่ที่วัดธรรมจักรเสมาราม บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน ธรรมจักรศิลา เป็นชนิดเดียวกันกับที่พระปฐมเจดีย์ เป็นศิลปะยุคทวารวดี มีลักษณะคล้ายล้อเกวียน ทำจากศิลาแลงขนาดใหญ่ มีหน้ากว้างทั้ง 2 ด้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.41 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดุมล้อ 31 เซนติเมตร ตอนล่างมีสลักคล้ายหน้าพนัสบดี ซึ่งมีลักษณะผสมสัตว์หลายชนิด คือ มีเขาเหมือนโค มีปากเป็นครุฑ มีปีกเหมือนหงษ์ สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นพาหนะของเทพให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูส่วนพนัสบดีเป็นพาหนะของพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของพุทธฝ่ายมหายาน ประดิษฐานอยู่ที่วัดธรรมจักรเสมาราม ภายในอาคารซึ่งอยู่ด้านซ้ายของโบสถ์ เปิดให้เข้าชมเวลา 06.00-17.00 ทุกวัน
6. อุตสาหกรรม
ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมในเขตเทศบาล เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมขนาดย่อมในครัวเรือน ซึ่งอุตสาหกรรมที่ประกอบการอยู่ในเขตเทศบาล ได้แก่
- โรงสีข้าว
– โรงสีข้าวศรีทองพานิชย์ ตั้งอยู่เลขที่ 655/10 หมู่ที่ 11 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
– โรงสีข้าวพันธ์สิต ตั้งอยู่เลขที่ 869 หมู่ที่ 11 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงเลื่อย
– หจก.โรงเลื่อยจักรสูงเนิน ตั้งอยู่เลขที่ 655 หมู่ที่ 11 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงทอกระสอบ
– บริษัทแหลมทองอุตสาหกรรม จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงงานผลิตพลาสติก
– บริษัทแหลมทองอุตสาหกรรม จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงงานผลิตรองเท้า
– บริษัท เอส.ซี.เอส. กรุ๊ป (โคราช) จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 78 หมู่ที่ 4 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงงานผลิตแปรรูปไม้
– แสงไทยการช่าง ตั้งอยู่เลขที่ 476 หมู่ที่ 8 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
- โรงงานอิเล็คทรอนิค
– บริษัท ไฮทูล (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
– การพาณิชย์ส่วนใหญ่ เป็นกิจการค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นตลาดซื้อขายที่ได้จดทะเบียนการค้าและทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งรวมกันอยู่หนาแน่นเป็นชุมชนการค้าโดยเฉพาะในเขตเมือง สินค้าที่มีจำหน่ายได้แก่เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ จักรยานยนต์ สินค้าการเกษตร เมล็ดพันธุ์พืช รวมตลอดถึงอาหาร สินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องอุปโภค – บริโภค มีจำนวน 250 แห่ง
– กลุ่มอาชีพ เทศบาลตำบลสูงเนิน มีกลุ่มอาชีพทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มทอผ้าเทศบาลตำบลสูงเนิน ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 ของตลาดเย็นเทศบาลตำบลสูงเนิน โดยเริ่มดำเนินการฟื้นฟูมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และมีสมาชิกในการดำเนินการ ทั้งหมด 29 คน มีการบริหารกลุ่ม โดยประธานกลุ่ม มีเงินทุนหมุนเวียนพร้อมทั้งมีการให้สมาชิกลงหุ้นๆละ 200 บาท เพื่อให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมตามความสมัครใจ และมีการปันผลหุ้นให้สมาชิกทุกปี
- กลุ่มนวดแผนไทย ตั้งอยู่ที่ อาคารฌาปณกิจสงเคราะห์วัดใหญ่สูงเนิน (เดิม) มีสมาชิก ทั้งหมด 5 คน ได้เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
- กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ ตั้งอยู่ที่ อาคารฌาปณกิจสงเคราะห์วัดใหญ่สูงเนิน (เดิม) มีสมาชิก ทั้งหมด 22 คน ได้เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน
- กลุ่มเลี้ยงแพะ ตั้งอยู่ที่ชุมชนมิตรภาพร่วมใจ มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน ได้เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน และในปี 2563 จะมีกลุ่มอาชีพเพิ่มมาอีก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า กลุ่มผลิตของชำร่วยสำหรับงานต่าง ๆ กลุ่มขนมไทย และกลุ่มผลิตดอกไม้
– สถานธนานุบาล เทศบาลตำบลสูงเนินมี สถานธนานุบาล 1 แห่ง เปิดใช้บริการเมื่อปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ เลขที่ 1 หมู่ 1 ถนนเทศบาล 1 ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
8. แรงงาน
แรงงานที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสูงเนินส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝงมาทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลตำบลสูงเนิน เช่น บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแรงงานต่างชาติ ได้แก่ เมียนม่าร์ กัมพูชา ลาว และอื่น ๆ อีกด้วย